วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

การทำกระถางลายเปลือกไม้

โครงการนำชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบำบัด ฟื้นฟูเด็กและเยาวชนด้วยหลักสูตรภูมิปัญญาท้องถิ่น "ประติมากรรมงานปูนลายไม้" ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๙
โดยสถานพินิจฯ จันทบุรี ร่วมกับ วิทยากรท้องถิ่น อาจารย์วันชัย สวัสดิไชย
 





วัสดุที่ใช้
            ๑. ปูนซิเมนต์
            ๒. เศษผ้าเช็ดตัว หรือผ้าห่ม
            ๓. กระถางพลาสติก
            ๔. ลวด
            ๕. สีพลาสติก




วิธีการทำ
            ๑. เตรียมกระถางพลาสติก
            ๒. ตัดเศษผ้าเช็ดตัว ให้ได้ขนาดพอเหมาะกับกระถาง
            ๓. ผสมปูนกับน้ำ คนให้เข้ากัน
            ๔. นำผ้าที่เตรียมไว้ชุบน้ำปูน
            ๕. นำผ้าชุบปูนคลุมที่กระถาง จัดกลีบ ลายให้ได้รูปทรงที่ต้องการ
            ๖. ปล่อยทิ้งไว้ให้แห้ง
            ๗. ทาสีรอบแรก รอแห้ แล้วตกแต่งด้วยสีดำอีกครั้ง










วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

"การแปรรูปสบู่ก้อนน้ำผึ้ง" 
    


       โครงการ สถานพินิจฯ ร่วมกับเครือข่ายชุมชนเพื่อการบำบัด ฟื้นฟูและสงเคราะห์เด็กและเยาวชนหลังปล่อย ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๙  โดยสถานพินิจฯ จันทบุรี ร่วมกับ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดจันทบุรี (ผึ้ง) วันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๕๙

 

ส่วนประกอบสำคัญ
        ๑. หัวเชื้อสบู่   ๑,๐๐๐ กรัม
        ๒. น้ำผึ้ง            ๗๕  กรัม
        ๓. ขมิ้นผง            ๕  กรัม
        ๔. กลิ่น              ๑๕  มิลลิลิตร
        ๕. น้ำสะอาด         ๕  มิลลิลิตร


 วิธีทำ
       ๑.  นำหัวเชื้อสบู่ใส่หม้อตุ๋นด้วยไฟอ่อน ๆ จนละลายหมด
       ๒.  นำขมิ้นละลายน้ำคนให้เข้ากัน เทใส่หม้อตู๋น
       ๓.  ยกลงจากเตาใส่น้ำผึ้ง
       ๔.  ใส่กลิ่นคนให้เป็นเนื้อเดียวกัน
       ๕.  เทลงบรรจุภัณฑ์ที่ต้องการ
       ๖. ทิ้งไว้ให้เย็นจนแข็ง 










          

วันอังคารที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557

ภูเขาน้ำตก & ตอไม้



             กิจกรรมต่อยอดความคิด "ภูเขาน้ำตก & ตอไม้" ตามโครงการนำชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบำบัด ฟื้้นฟูเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดจันทบุรีด้วยหลักสูตรภูมิปัญญาท้องถิ่น "ประติมากรรมงานปูนลายไม้" ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนกันยายน ๒๕๕๗





 จุดประสงค์
            ๑.เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้แสดงออกถึงทักษะความสามารถ ต่อยอดความรู้ด้านประติมากรรมงานปูนลายไม้
            ๒.เพื่อให้เด็กและเยาวชนสามารถนำความรู้ที่ได้จากการฝึกทักษะประติมากรรมงาน ปูนลายไม้ เช่น ตอไม้ โต๊ะนั่งขอนไม้ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์เพื่อพัฒนาภูมิทัศน์ฯ ให้มากที่สุด
            ๓.เพื่อให้เด็กและเยาวชนตระหนักถึงคุณค่า และความภาคภูมิใจในตนเอง




ผลที่คาดว่าจะได้รับ
              ๑. เด็กและเยาวชนเกิดความภาคภูมิใจ ตระหนักในคุณค่าของตน
              ๒. เป็นการต่อยอดความคิดสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาผลงานครั้งต่อไป
              ๓. มีที่พักผ่อน หย่อนใจ เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งแห่ง










วันศุกร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2557

ประติมากรรม โต๊ะนั่งขอนไม้

ประติมากรรมงานปูนลายไม้ " โต๊ะนั่งขอนไม้" 

       หากเรากำลังมองหาโต๊ะนั่่งเล่นในสวนหน้าบ้าน หลังบ้านหรือในสวนหย่อมแสนสวยงามและร่มรื่นที่ทำจากไม้  ปัจจุบันไม้ท่อนใหญ่ๆ คงจะหายากเต็มที หรือหากเป็นไม้จริงคงจะราคาแพงไม่ใช่น้อย ซึ่งนอกจากจะเป็นการตัดไม้ทำลายป่าที่อยู่น้อยนิดแล้ว ยังไม่เป็นการอนุรักษ์ธรรมชาติ เป็นสาเหตุ ที่มาของสภาพอากาศโลกที่เลวร้าย ภัยธรรมชาติที่เห็น ๆ กันอยู่ 
       มาวันนี้เพื่อเป็นการตอบสนองความต้องการผลิดภัณฑ์ที่ทำจากไม้อีกทางเลือกหนึ่ง สำหรับผู้ที่สนใจเฟอร์นิเจอร์จากไม้ เป็นการช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ไปในตัว  เราลองมาทำ"โต๊ะนั่่งขอนไม้" กันดู 


      

อุปกรณ์ 
     ๑. เกียง
     ๒. ถาดถือปูน
     ๓. เหล็กแกะลาย
     ๔. ไม้กวาดปัดฝุ่น
     ๕. คีมตัดลวด
     ๖. กรรไกรตัดตาข่าย
     ๗. กระป๋องใส่ปูน
     ๘. มีดคว้าน
วัสดุ ได้แก่ ทรายละเอียด ทรายหยาบ ปูน ลวด ลวดตาข่าย

วิธีการผสมปูน ส่วนผสม ทราย ๒ ส่วน ปูน ๓ ส่วน (แก่ปูน) น้ำอย่าให้เหลว





วัสดุ / อุปกรณ์งานสี
วัสดุอุปกรณ์งานตกแต่งด้วยสี ประกอบด้วย
     ๑.สี ใช้ในการทา เพ้นท์ นิยมใช้สีสำหรับทาหลังคาบ้าน จำนวน ๓ สี ได้แก่ สีแดง (อาทิตย์  อัสดง) สีเหลือง (ราชพฤกษ์) และสีเทา (นกพิราบ)
     ๒. กระป๋องสำหรับผสมสี
     ๓. ช้อนตวงสี
     ๔. แปลงทาสี
     ๕. น้ำเปล่า
     ๖. ไม้สำหรับคนสี








วิธีการทำ
    ๑. เตรียมโครงลวด ชิ้นงาน เพื่อเป็นที่ยึดติดปูน ตามขนาดที่ต้องการ
    ๒. ผสมปูน ทรายละเอียดตามสูตร
    ๓. เทปูนที่ผสมแล้ว เพื่อเป็นพื้นตามขนาดพื้นของชิ้นงาน
    ๔. วางโครงลวดให้ติดกับชิ้นงาน รอแห้ง
    ๕. ฉาบ ตามโครงลวดด้านนอกเสร็จแล้ว รอปูนแห้ง
    ๖. ฉาบตกแต่งภายในให้เรียบร้อยรอแห้ง
    ๗. ผสมปูน ทรายหยาบตามสูตร ฉาบเป็นเปลือกนอกให้ทั่ว
    ๘. ระหว่างรอแห้งพอหมาด ๆ ทำการตกแต่งลาย ด้วยเหล็กขูด ตกแต่งลายธรรมชาติ ทิ้งไว้ให้แห้ง
    ๙. หลังจากแห้งแล้ว ตกแต่งด้วยการทาสีบนชิ้นงาน

มาดูขั้นตอนการทำ ผ่าน Youtube 

    

      ที่มาของ "โต๊ะนั่งขอนไม้" ตามโครงการนำชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบำบัดเด็กและเยาวชนในสถานพินิจฯ จังหวัดจันทบุรี ด้วยหลักสูตรภูมิปัญญาท้องถิ่น "ประติมากรรมงานปูนลายไม้" ทั้งนี้ได้รับความอนุเคราะห์จากอาจาย์วันชัย สวัสดิไชย วิทยากรท้องถิ่น (๐๘๑ ๒๐๙๗๐๘๐) เพื่อถ่ายทอดความรู้ให้แก่เด็กและเยาวชน
รับผิดชอบ/ประสานงาน :   
นายวุฒิชัย ล้อมทอง   นักวิชาการอบรมและฝึกวิชาชีพชำนาญการ